อาหารภาคเหนือ



อาหารภาคเหนือ
































ภาคเหนือ
ภาคเหนือ เป็นดินแดนที่มีความเจริญรุ่งเรืองมาตั้งแต่ครั้งในอดีตเป็นดิดแดนแห่งประวัติศาสตร์ ศิลปะวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี ที่แตกต่างไปจากภาคอื่น และคนเหนือมีเชื้อสายไทยใหญ หน้าตา ผิวพรรณ จึงต่างไปจากภาคอื่น ๆ ประกอบความอ่อนหวาน ซื่อ บริสุทธิ์ ทำให้คนเหนือมีเอกลักษณ์ที่เด่นชัด
การรับประทานอาหารของคนภาค เหนือนั้น จะใช้โก๊ะข้าว หรือที่เรียก   อาหารภาคเหนือไม่นิยมใส่น้ำตาล ความหวานจะได้จากส่วนผสม เช่น ความหวานจากผัก จากปลาจากมะเขือส้มเป็นต้น

อาหารที่คนภาคเหนือนิยมใช้กินแนม หรือกินเคียงกับอย่างอื่น เช่น
หน้าปอง คือการเอาหนังควายมาเผาไฟ แล้วแช่น้ำขูดเอาสส่วนที่ดำ ๆ ออก ตัดส่วนที่แแข็งทิ้ง ตากแดดให้แห้ง นำแผ่นหนังไปปิ้งไฟ ให้อ่อนตัว นำไปต้ม 3 วัน โดยใช้ไฟอ่อนๆจนมีสีเหลืองๆ

น้ำหนัง คือ เอาหนังควายเผาไฟจนไหม้ดำ แช่น้ำในโอ่ง แล้วขูดส่วนที่ไม่ออก นำไปต้มในปี๊บโดยขัดแตะตากปี๊บไว้ ต้มไปจนหนังละลายเป็นน้ำข้นๆ กรองกระชอนไม้ไผ่ นำไปละเลงบางๆ บนกาบไม้ไผ่ หรือจะผสมงาก่อนละเลงก็ได้

แคบหมู  นำหนังหมูมากรีดมันออก ในเหลือติดนิดหน่อย เคล้ากับเกลือ ผื่งแดดให้น้ำมันแห้ง ตัดเป็นชิ้นเล็ก นำไปเคี้ยวกับน้ำมันในกระทะ พอหนังพองเป็นเม็ดเล็กๆเอาไปทอดในน้ำมันร้อนจัด

ไข่มดส้ม คือการเอาไข่มดแดงไปดองกับเกลือ แล้วนำมายำแกง การดองไข่มดส้มโดยใช้ไข่มด 1 ถ้วย ดองกับเกลือ 2 ช้อนชา

เครื่องปรุงรสในอาหารเหนือ
ปลาร้า คือการหมักปลากับเกลือจนเป็นปลาร้า

น้ำปู๋ คือการเอาปูนาตัวเล็กๆ มาโขลก แล้วนำไปเคี้ยว กรองเอาแต่น้ำ ใส่ข่า ตะไคร้ เคี้ยวต่อจนข้น น้ำปู๋จะมีสีดำ มีความเข้มพอๆกับกะปิ

ถั่วเน่าแผ่น (ถั่วเน่าแค่บ) คือถั่วเหลืองต้ม หมักกับเกลือจนนุ่ม นำไปโม่แล้วละเลงเป็นแผ่น ตากแดดให้แห้ง ใช้แทนกะปิ

ถั่วเน่าเมอะ คือถั่วเหลืองต้มหมักกับเกลือ ห่อใบตองให้มีกลิ่น ใช้ทำน้ำพริก

มะแขว่น เป็นเครืองเทศทางเหนือ มีลักษณะเป็นพวงติดกัน  เม็ดกลม  เปลือกสีน้ำตาลเข้ม  กลิ่นหอม

มะแหลบ ลักษณะเมล็ดแบน กลิ่นหอมอ่อนกว่ามะแขว่น

ผักและเครื่องเทศทางภาคเหนือ จะเป็นผักเฉพาะถิ่น ผักบางชนิดจะคล้ายกับผักทางภาคอีสาน แต่เรียกชื่อต่างกัน ทางภาคเหนือจะมีเครื่องเทศเฉพาะคือ มะแขว่น กับมะแหล่บ อาหารภาคเหนือรสจะออกไปทางเค็มกับเผ็ด แต่ไม่เผ็ดจัด รสหวานไม่นิยม หากจะมีความหวานในอาหารบ้างก็จะได้มาจากเครื่องปรุงในอาหารนั้น ๆ ไม่นิยมใช้น้ำตาล แต่จะนิยมใช้น้ำมันในการปรุงอาหาร อาการส่วนใหญ่จะผัดด้วยน้ำมัน เครื่องจิ้มก็จะเป็นน้ำพริกเป็นส่วนใหญ่ ผักที่ใช้จิ้ม ส่วนใหญ่จะเป็นผักนึ่ง

ผักปู่ย่า ขึ้นในป่า ลักษณะเป็นพุ่ม ดอกสีเขียวอมชมพูน้ำตาล มีหนามถ้าดอกสีเหลืองจะมีรสเปรี้ยว ใช้ทำยำ นอกจากนี้ผักปู่ย่า ยังมีผักที่ขึ้นตามป่า แล้วนำมาปรุงอาหาร หรือใช้เป็นผักจิ้มอีกหลายชนิด เช่น ผักสลิดจะมีรสขม ผักห้วนหมู จะมีใบใหญ่ สีเขียวเข้ม รสขม ผักกานถึง ใบเล็ก ๆ แหลม ๆ มีรสหวาน เวลาเด็ด เด็ดเป็นยอด นอกจากนี้ยังมีผักป่าอีกหลายชนิด
นอกจากผักป่าแล้วยังมีเห็ดชนิดต่าง ๆ ที่เกิดตามป่าและเก็บมารับประทาน เช่น เห็ดแดง เห็ดเผาะ ( เห็ดถอบ ) เห็ดหูหนูลัวะ คือ เห็ดหูหนู

ผักขี้หูด ลักษณะของผักจะเป็นฝัก ขึ้นเป็นช่อ ฝักเล็กขนาด ? ซม. ยาว 7-8 ซม. ดอกสีม่วงสวย กินสดโดยจิ้มกับน้ำพริก น้ำผัก หรือ ต้ม นึ่งกินกับน้ำพริกอ่อง ผักขี้หูดเป็นผักฤดูหนาว ใบคลายใบผักกาด จะใช้เฉพาะส่วนที่เป็นฝัก รสเผ็ดเล็กน้อย แต่ถ้าต้มสุกแล้วจะหวาน

ผักกาดตอง ใบคล้ายใบพลู แต่ใบสั้นกว่า สีเขียวออกขาว กลิ่นหอมฉุน ใช้กินกับลาบ

หอมด่วน คือ ผักชี อาหารภาคเหนือส่วนใหญ่นิยมโรยด้วย ผักชีหั่นฝอย
ยี่หร่า ลักษณะใบฝอย สีเขียวเข้ม ใช้จิ้มน้ำพริก น้ำผัก น้ำพริกหนุ่ม น้ำพริกตาแดง และใส่แกง

หยวกกล้วย จะใช้หยวกกล้วยป่า โดยใช้แกนให้มาทำแกงหรือต้มจิ้มน้ำพริก
บ่าค้อนก้อม คือ มะรุม ใช้แกงส้ม

บ่าริดไม้ คือ ลิ้นหมา ลักษณะเป็นฝัก ยาวประมาณ 10 – 15 นิ้ว ฝักจะมีลักษณะแบน กว้าง 3 นิ้ว ต้มให้นุ่มใช้จิ้มน้ำพริก มีรสขม เป็นยาระบาย มีสีเขียวขี้ม้า

บ่าหนุน จะใช้ขนุนอ่อน โดยเด็ดเอาขนุนที่ออกลูกมากเกินไป และจำเป็นต้องเด็ดออกเสียบ้าง เพื่อจะได้ไม่แย่งอาหารกันมาก ขนุนอ่อนนี้ใช้ทำแกง หรือต้มจิ้มน้ำพริก

ดอกงิ้ว คือดอกนุ่นพันธุ์พื้นเมือง
พริกหนุ่ม เป็นพริกทางเหนือ มีลักษณะยาวเรียว พริกหนุ่มสด จะมีสีเขียวอมเหลือง

ดอกลิงแลว เป็นดอกเล็กๆ สีม่วง มีลักษณะคล้ายกล้วยไม้ที่เพิ่งแตกดอก คือเป็นปุ่มเล็กๆ     ปลายดอกเรียว โคนใหญ่ ตัวดอกนุ่ม ลักษณะใบจะยาวคล้ายใบหมาก มีรสหวาน ใช้ทำแกงแค หรือ แกงเลียง

ตูน คือ คูน ต้นคล้ายต้นบอล แต่เปลือกสีเขียวนวลไม่คันเมื่อมือถูกยางคูน เนื้อตูนสีขาว เนื้อฟ่าม กินสดได้ โดยกินกับตำส้มโอ ตำมะม่วง

ผักหระ คือ ชะอม กินได้ทั้งสดและทำให้สุก นิยมกินกับตำมะม่วง ตำส้มโอ หรือ ใส่แกง เช่น แกงแค เป็นต้น

ผักหนอก คือใบบัวบก กินสดกับน้ำพริกหรือแนม หรือกินแกล้มกับยำต่าง ๆ
หัวปี๋ ( ปลี ) คือหัวปลี กินได้ทั้งสดและทำให้สุก เช่น กินสดจิ้มกับน้ำพริกอ่อง ทำสุก เช่น ใช้แกงกับปลาย่าง ต้มสุกจิ้มน้ำพริก ปลีกล้วยที่นิยมกินกัน คือ ปลีกล้วยน้ำว้า กับปลีกล้วยป่า

ดอกแก ( ดอกแค ) ดอกแคที่นิยมกินกันมีสองสี คือแคขาวกบแคแดง ใช้ทำแกง หรือ ต้มจิ้มน้ำพริก ยอดแคก็กินได้

หน่อไม้ไร่ มีลักษณะเล็กยาว มีรสขื่นและขม นิยมเอามาทำเป็นหน่อไม้ปีป นอกจากจะเก็บได้นานแล้ว ยังทำให้รสขื่นและขมของหน่อไม้คลายลง หน่อไม้ไร่ปีปนิยมทำหน่ออั่ว ยำหน่อไม้และผัด

มะเขือส้ม คือมะเขือลูกเล็ก ๆ ที่ติดกันเป็นพวง มีรสเปรี้ยวอมหวานนิด ๆ

อาหารภาคเหนือ
ลักษณะนิสัยที่ค่อนข้างเยือกเย็น สุขุมและสุภาพเรียบร้อย นับเป็นสิ่งที่สะท้อนออกมาให้เห็นถึง อาหารที่เป็นเอกลักษณ์ของคนภาคเหนือไม่ว่าจะเป็นข้างเหนียวซึ่งเป็นอาหารหลัก น้ำพริกอ่อง ซึ่งดูจะไม่เผ็ดมากนัก ตลอดจนกรรมวิธีถนอมอาหารอันแยบยล ที่ออกมาในรูปแบบของ แหนม หมูยอ แคบหมู และที่เป็นพิเศษจริงๆคือ อาหารจำพวกของสด เช่น ลาบสดที่ดูเหมือนจะเป็น มรดกทางวัฒนธรรมทางอาหารของต้นตระกูลไทยที่แท้จริง รวมถึงอาหารที่ได้รับอิทธิพลจาก ชาติต่างๆ ที่อยู่ใกล้เคียง อาทิ แกงฮังเลที่ได้รับอิทธิพลจากพม่า ข้าวซอยที่ได้รับอิทธิพลจาก จีนฮ่อ นอกจากนั้นแนวทางการรับประทานอาหารพื้นเมืองทางภาคเหนือยังออกมาในรูปแบบ ของขันโตก ซึ่งประกกอบด้วยอาหารหลายๆอย่างในหนึ่งสำรับ เช่น น้ำพริกอ่อง แคบหมู แกง ฮังเล ลาบ ข้าวเหนียว ไก่ชิ้นทอด โดยเฉพาะมีการประยุกต์อาหารขันโตก โดยอาจารย์ ไกรศรี นิมมานเหมินทร์ นำมารับแขกบ้านแขกเมืองที่เรียกติดปากว่า "ขันโตกดินเนอร์" นั่นเอง


เรียบเรียงโดย  นางสาว  ยุวรี  เดชมล
อ้างอิงจาก      :http://ikm.wattano.ac.th:8081/Student/food/ngang.html





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น